“สะกดทัพ” โขนพระราชทาน Soft Power ระดับพรีเมียม
เชื่อว่าหากพูดถึงศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์การแสดงของไทย ย่อมมีคนเคยได้ยินการแสดง “โขน” มาบ้าง เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวของ “รามเกียรติ์” ที่ได้รับอิทธิพลมาจาก “รามายณะ” ว่าด้วยเรื่องของพระนารายณ์ปราบทศกัณฐ์ที่สืบทอดมาจากอินเดีย และแผ่ขยายเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ละประเทศจึงมีการแสดงรามายณะในแบบฉบับของตัวเอง ในส่วนของประเทศไทย โขนเป็นการรวมศิลปะการแสดงหลายแขนงที่มาแต่โบราณตั้งแต่สมัยอยุธยาเข้าไว้ด้วยกัน ทั้ง หนังใหญ่ กระบี่กระบอง ชักนาคดึงดำบรรพ์ และที่โดดเด่นเป็นพิเศษคือการสวมหัวโขน ที่มีการประดิษฐ์อย่างประณีตวิจิตร เช่นเดียวกับเสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับของทุกตัวละคร ที่งดงาม มลังเมลืองยามสะท้อนต้องแสงไฟ อันแสดงถึงความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของประเทศอันเป็นเอกลักษณ์อย่างชัดเจน ยังไม่รวมถึงท่ารำ การเล่นดนตรีไทย และการขับร้อง พากย์สด ที่ทำให้การแสดงโขนของไทยโดดเด่นด้วยอัตลักษณ์ของศิลปะการแสดงชั้นสูง ในอดีตตั้งแต่สมัยอยุธยา การแสดงโขนนั้นจำกัดอยู่แต่เพียงในราชสำนัก ทำให้คนที่สนใจดูโขนหาดูได้ยากมาก และมีการแปลงการเล่นโขนอย่างง่ายให้เป็นศิลปะการแสดงของชาวบ้าน ตลอดจนเล่นกันอยู่ไม่กี่ตอน ทำให้ความนิยมดูโขนเริ่มลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม โขนได้กลับมาเป็นที่นิยมอย่างมากอีกครั้ง เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีรับสั่งให้รื้อฟื้นการแสดงภายใต้ชื่อ โขนพระราชทาน โดยมีแบบแผนการแสดงของโขนราชสำนัก ประกอบกับการใช้ฉาก เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ที่จัดทำใหม่โดยช่างฝีมือจากศิลปาชีพที่ขึ้นชื่อเรื่องการประดิษฐ์งานหัตถศิลป์ที่งดงามตระการตา โดยเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ทั่วประเทศได้เข้ามาคัดตัวร่วมแสดง เพื่อให้เกิดการสานต่อจากรุ่นสู่รุ่น ข่าวดีคือ หลังจากงดการแสดงไปเพราะโควิด-19 ปีนี้โขนพระราชทานได้ฤกษ์เปิดการแสดงใหม่อีกครั้งในตอน “สะกดทัพ” ที่น่าสนใจคือ คนดูเต็มเกือบทุกรอบ […]
Learn more →