A picture containing text, sign

รู้ตัวอีกทีก็มิถุนายนแล้ว! ไขข้อสงสัยทำไมมกราคมถึงยาวนานกว่าเดือนอื่น

“อะไรกัน! เผลอแป๊บเดียวก็ครึ่งปีแล้วเหรอ” “ทำไมแป๊บ ๆ ก็หมดวันแล้ว” ถึงเวลาจะเดินเท่ากันในทุก ๆ วัน แต่เชื่อว่าหลายคนก็มักรู้สึกอยู่เสมอว่า เวลาในแต่ละวันช่างยาวนานไม่เท่ากันเอาเสียเลย ซึ่งนอกเหนือจากตัวอย่างข้างต้นนี้ อีกหนึ่งปรากฏการณ์ทางเวลาที่หลายคนสงสัยก็คือ ทำไมเดือนมกราคมถึงดูยาวนาน แต่พอหลุดจากเดือนมกราคมหลังหมดปีใหม่มาก็ดูราวกับว่า เวลา 1 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหกอย่างไรอย่างนั้น แต่ถึงจะดูเป็นเรื่องที่น่าฉงนสงสัยและไม่มีคำตอบที่แน่ชัดให้กับปรากฏการณ์ทางเวลานี้ แต่รู้หรือไม่? เราสามารถอธิบายเรื่องราวแสนน่าสงสัยของเวลานี้ผ่านหลักการวิทยาศาสตร์ได้ แต่จะเป็นอย่างไรนั้น มาไขความลับเรื่องเวลาไปพร้อมกันได้เลย! ตัวกระตุ้นต่างกัน การรับรู้เวลาก็เปลี่ยนไป William Skylark อธิบายความรู้สึกในการรับรู้เวลาที่แตกต่างกันว่า ตัวกระตุ้นภายนอกส่งผลโดยตรงกับการรับรู้เวลา หรือ Time Perception ของคนเรา ซึ่งหากยิ่งตัวกระตุ้นส่งผลกระทบต่อชีวิตของเรามากเท่าไหร่ การรับรู้เวลาก็อาจจะสั้นลงได้ เช่น ปลายทางของเดือนธันวาคม คือ การหยุดยาวและช่วงเวลาในการพักผ่อนที่ใหญ่ที่สุดของปี แต่พอเข้าเดือนมกราคม สมองของเราก็จะรับรู้ได้ว่า ในเดือนนี้เรากำลังจะเข้าสู่ช่วงการทำงานแบบเดิม ๆ อีกครั้ง ทำให้เรารู้สึกได้ว่า เดือนธันวาคมและวันหยุดยาวนั้นมีเวลาที่สั้นกว่าเดือนมกราคม ซึ่งแนวคิดนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจาก Dr. Zhenguang Cai จาก University College of London เช่นกัน อารมณ์ในแต่ละช่วงเวลาก็ส่งผลต่อการรับรู้เวลาเช่นกัน นอกจากตัวกระตุ้นแล้ว อารมณ์ของเราก็ส่งผลต่อความช้าและเร็วของเวลาเช่นกัน ซึ่งหากลองสแกนสมองดูก็จะพบว่า ความเร็วช้าของเวลานี้อาจถูกกำหนดโดย […]

Learn more →